เปปไทด์ กับกลไกการฟื้นฟู และซ่อมแซมผิว

เปปไทด์

ในวงการสกินแคร์ เปปไทด์ (Peptides) เป็นหนึ่งในส่วนผสมที่ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเปปไทด์ทำหน้าที่เป็นสารกระตุ้นการฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ผิวที่มีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติในการกระตุ้นการสร้างโปรตีนสำคัญ เช่น คอลลาเจน และอีลาสติน จึงช่วยลดเลือนริ้วรอย และเสริมสร้างความยืดหยุ่นของผิวได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีเปปไทด์ ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยบำรุงผิวจากภายในได้ดี เพราะอย่างนั้นการทำความเข้าใจกลไกของเปปไทด์ว่าทำงานอย่างไรในการฟื้นฟู และซ่อมแซมผิว จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เปปไทด์ คืออะไร ทำงานอย่างไรต่อผิว ?

เปปไทด์ คือ สายโมเลกุลขนาดเล็กที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน (Amino Acids) ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของโปรตีนในร่างกาย โดยทำหน้าที่เสมือน “สารสื่อสาร” ระหว่างเซลล์ผิว ที่จะส่งสัญญาณไปยังเซลล์ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ ซึ่งเปปไทด์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสร้างโปรตีนสำคัญต่าง ๆ แล้วกลไกการทำงานของเปปไทด์ ช่วยอะไรกับผิวบ้าง

  1. กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน

    เปปไทด์ จะส่งสัญญาณไปยังเซลล์ในชั้นผิวหนัง เพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และอีลาสติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่น เมื่อผิวมีคอลลาเจนที่เพียงพอ จะทำให้ผิวดูเรียบเนียน กระชับ ลดการเกิดริ้วรอย และทำให้ผิวมีความอ่อนเยาว์กระจ่างใสยิ่งขึ้น

  2. ซ่อมแซม และฟื้นฟูผิว

    เมื่อผิวต้องเจอกับอาการบาดเจ็บ หรือถูกทำร้ายจากแสงแดด และมลภาวะ เปปไทด์จะทำหน้าที่เป็นสัญญาณเตือน เพื่อกระตุ้นกระบวนการฟื้นฟู ปรับสมดุล และเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างผิว ทำให้ผิวมีความสามารถในการป้องกันการโดนทำร้ายจากปัจจัยกระตุ้นภายนอกได้ดีขึ้น

  3.  เสริมเกราะป้องกัน และรักษาความชุ่มชื้น

    เปปไทด์บางประเภทมีส่วนช่วยในการเสริมเกราะป้องกันผิว และทำให้ผิวสามารถรักษาความชุ่มชื้นได้ดี ป้องกันการสูญเสียน้ำจากผิวชั้นนอก ส่งผลให้ผิวไม่แห้งกร้าน หรือขาดความยืดหยุ่น อีกทั้งยังลดการระคายเคืองของผิวอีกด้วย

  4. ลดการอักเสบ และปลอบประโลมผิว

    เปปไทด์สามารถช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการแดงบวมของผิวจากการระคายเคือง ทำให้ผิวรู้สึกสบาย และเรียบเนียนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเสริมให้ผิวมีความทนทานต่อการระคายเคืองจากปัจจัยภายนอกได้ดี

ประเภทของเปปไทด์ในสกินแคร์

ประเภทเปปไทด์ในสกินแคร์สามารถแบ่งได้ตามการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละชนิดมีบทบาทเฉพาะในการดูแล และฟื้นฟูผิว รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการบำรุงผิวอย่างล้ำลึก โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. Signal Peptides

    เป็นประเภทเปปไทด์ที่มีหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังเซลล์ผิวเพื่อกระตุ้นการผลิตโปรตีนสำคัญ เช่น คอลลาเจน และอีลาสติน โดยเปปไทด์ประเภทนี้จะช่วยเร่งกระบวนการสร้างเซลล์ผิวใหม่ และเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้ผิวดูอิ่มฟูมากขึ้น
    ตัวอย่างสาร : Matrixyl (Palmitoyl Pentapeptide-4) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิว ทำให้ผิวดูอิ่มฟูกระชับ

  2. Carrier Peptides

    เปปไทด์ที่ทำหน้าที่นำส่งแร่ธาตุต่างๆ เช่น ทองแดง แมงกานีส เข้าสู่ชั้นผิว โดยแร่ธาตุเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และส่งเสริมการซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ
    ตัวอย่างสาร : Copper Tripeptide-1 เป็นเปปไทด์ที่นำส่งทองแดงเข้าสู่เซลล์ผิว ช่วยเร่งการสมานแผล และซ่อมแซมผิวที่เสียหาย

  3. Enzyme-Inhibitor Peptides

    เปปไทด์ประเภทนี้มีหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ที่ส่งผลให้คอลลาเจน และอีลาสตินเสื่อมสภาพ โดยจะช่วยป้องกันริ้วรอย และการหย่อนคล้อยจากการถูกทำร้ายโดยปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด มลภาวะ เป็นต้น
    ตัวอย่างสาร : Soy Peptides ช่วยป้องกันการสลายของคอลลาเจน และลดความเสี่ยงในการเกิดริ้วรอย

  4. Neuropeptides

    การทำงานของประเภทเปปไทด์นี้มีความแตกต่างออกไปจากเปปไทด์ประเภทอื่น เนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อผิวหน้า ซึ่งส่งผลในการช่วยลดเลือนริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงอารมณ์ ตัวอย่างสาร : Argireline (Acetyl Hexapeptide-8) มีคุณสมบัติคล้ายการทำงานของโบท็อกซ์ ที่ช่วยลดริ้วรอยจากการขยับของกล้ามเนื้อ

หากท่านใดที่กำลังวางแผนผลิตสกินแคร์เป็นของตัวเอง สามารถมาปรึกษา COSMINA ได้ เพราะเราเป็นโรงงานรับผลิตครีม เวชสำอาง และสกินแคร์ระดับพรีเมียมมาตรฐานตามระดับสากลพร้อมมีประสบการณ์มากกว่า 46 ปี ดังนั้นมั่นใจได้ว่าท่านจะได้พบเจอกับคุณภาพ และบริการที่ประทับใจหากได้มาปรึกษากับเรา

 

เทคโนโลยี Encapsulation ในสกินแคร์ เพื่อการบำรุงผิวอย่างตรงจุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว