โฆษณาเครื่องสำอาง แบบไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย ต้องทำอย่างไร

การโฆษณาเครื่องสำอางในปัจจุบันต้องทำอย่างรอบคอบมากขึ้น เนื่องจากกฎหมาย และข้อบังคับถูกปรับปรุงให้เข้มงวดกว่าเดิม เพื่อป้องกันการกล่าวอ้างเกินจริง และปกป้องผู้บริโภค หากผู้ประกอบการที่กำลังวางแผนจะผลิตเครื่องสำอาง แต่ยังไม่ได้ศึกษากฎใหม่ อาจเสี่ยงต่อการถูกปรับ หรือลงโทษทางกฎหมาย ดังนั้น บทความนี้ Cosmina จะมาสรุปคู่มือโฆษณาการผลิตเครื่องสำอาง 2567 เพื่อให้คุณโปรโมตสินค้าได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัยที่สุด

ความสำคัญของการโฆษณาเครื่องสำอางให้ถูกต้อง

เมื่อผู้ประกอบการได้ผลิตเครื่องสำอางออกมาเรียบร้อย และกำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนทำการตลาด โดยขั้นตอนนี้ควรให้ความสำคัญให้ดี เพราะไม่ควรโฆษณาจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้ดึงดูดลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงถึงกฎหมาย และมาตรฐานที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน ซึ่งความสำคัญของการโฆษณาที่ถูกต้อง คือ

  • ป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภค หากโฆษณาให้ข้อมูลผิดพลาด หรือเกินจริง อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด และส่งผลเสียต่อสุขภาพผิวได้
  • สร้างความเชื่อถือให้แบรนด์ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างฐานลูกค้า และเกิดความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว
  • สอดคล้องกับกฎหมาย และมาตรฐานของ อย. โดยคู่มือฉบับปี 2567 มีการปรับปรุงข้อกำหนดให้รัดกุมขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องสำอางที่โฆษณามีข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง

อัปเดตข้อกำหนดใหม่ปี 2567 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ?

อัปเดตข้อกำหนดใหม่ ปี 2567

การเปลี่ยนแปลงมุ่งเน้นไปที่การปกป้องผู้บริโภคจากข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด และลดการกล่าวอ้างเกินจริง โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  1. การกำหนดข้อความที่อนุญาต และไม่อนุญาต สำหรับการโฆษณาเครื่องสำอางแต่ละประเภท
    แบ่งออกเป็น 23 กลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมตัวอย่างข้อความที่อนุญาตให้ใช้ และข้อความที่ห้ามใช้ เช่น
    – กลุ่มเครื่องสำอางบำรุงผิวที่มีสารไวท์เทนนิ่ง ควรใช้ข้อความ “แลดูขาว” หรือ “แลดูกระจ่างใส” เลี่ยงข้อความที่กล่าวว่าทำให้ผิวขาวไวกว่าสีผิวเดิมตามธรรมชาติ
    – กลุ่มเครื่องสำอางสำหรับผิวเป็นสิว ควรใช้ข้อความเช่น “บำรุงผิวที่เป็นสิว” หรือ “ใช้สำหรับผิวมันเป็นสิวง่าย”  ไม่ควรใช้ข้อความที่อ้างว่าสามารถป้องกันสิว รักษาสิว หรือลดสิว
    – กลุ่มเครื่องสำอางป้องกันแสงแดด ควรแสดงค่า SPF หรือ PA และระบุวิธีการใช้อย่างถูกต้อง ไม่ควรอ้างว่าสามารถป้องกันรังสียูวีได้ 100% หรือป้องกันได้ยาวนานโดยไม่ต้องทาซ้ำ
  1. ควบคุมการใช้คำโฆษณาให้มีความชัดเจน และไม่เกินจริง
    – ห้ามใช้คำที่สื่อถึงผลลัพธ์เกินจริง เช่น “ขาวถาวร” หรือ “ลดสิว 100%”
    – อนุญาตให้ใช้คำที่สะท้อนผลลัพธ์ตามหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น “ช่วยให้ผิวดูสม่ำเสมอขึ้น” หรือ “เหมาะสำหรับผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิว”
  1. ห้ามใช้คำกล่าวอ้างที่เข้าข่ายเป็นสรรพคุณทางยา
    – กล่าวอ้างว่ารักษา หรือป้องกันโรค เช่น “ช่วยรักษาสิวอักเสบ” หรือ “ป้องกันการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำถาวร”
    – กล่าวอ้างว่ามีผลต่อโครงสร้างผิว หรือร่างกาย เช่น “ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน” หรือ “ฟื้นฟูเซลล์ผิวจากภายใน”
    – ใช้คำที่สื่อว่ามีประสิทธิภาพเฉพาะทางเกินจริง เช่น “กำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวได้ 100%” หรือ “ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ป้องกันฝ้าขึ้นซ้ำ”
  1. ปรับแนวทางให้เหมาะกับการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ และอินฟลูเอนเซอร์
    – อินฟลูเอนเซอร์ต้องระบุว่าเป็น “รีวิวที่ได้รับการสนับสนุน (Sponsored) ” หรือ “ได้รับสินค้าเพื่อทดลองใช้”
    – หลีกเลี่ยงการพูดในลักษณะที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด เช่น การตัดต่อภาพ Before-After ที่เกินจริง
    – ควรใช้เนื้อหาที่อิงจากประสบการณ์จริงของผู้ใช้ และคำพูดเชิงแนะนำ เช่น “ใช้แล้วรู้สึกว่าผิวดูสุขภาพดีขึ้น

ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการที่มีแบรนด์ผลิตเครื่องสำอาง และต้องการนำไปโฆษณาบนสื่อออนไลน์ต้องหลีกเลี่ยงคำกล่าวอ้างที่เข้าข่ายเป็นสรรพคุณทางยา และใช้น้ำเสียงที่เป็นกลาง เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้ง อินฟลูเอนเซอร์ต้องเปิดเผยการสนับสนุนจากแบรนด์ และไม่กล่าวอ้างเกินจริงเพื่อป้องกันการละเมิดข้อกำหนดโฆษณานั่นเอง
หากท่านใดที่กำลังวางแผนผลิตสกินแคร์เป็นของตัวเอง สามารถมาปรึกษา #COSMINA ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี!!! เพราะเราเป็นโรงงานรับผลิตครีม เวชสำอาง และสกินแคร์ระดับพรีเมียมมาตรฐานตามระดับสากลพร้อมมีประสบการณ์มากกว่า 46 ปี ดังนั้นมั่นใจได้ว่าท่านจะได้พบเจอกับคุณภาพ และบริการที่ประทับใจหากได้มาปรึกษากับเรา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว