เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มากขึ้น มาตรฐานโรงงานจึงไม่ใช่แค่ “เรื่องเบื้องหลัง” อีกต่อไป สำหรับเจ้าของแบรนด์ การเข้าใจว่า GMP กับ ISO ต่างกันอย่างไร คือจุดเริ่มต้นของการเลือกพาร์ตเนอร์โรงงานที่เหมาะสม เพราะมาตรฐานที่แบรนด์เลือกใช้ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือทั้งใน และนอกประเทศ บทความนี้ Cosmina จะพาคุณแยกแยะความแตกต่าง พร้อมชี้ให้เห็นว่าแต่ละมาตรฐานมีผลต่อธุรกิจคุณอย่างไร
ความหมายของ GMP และ ISO
GMP (Good Manufacturing Practice) คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ซึ่งเป็นชุดมาตรฐานสากลที่กำหนดแนวทางในการควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ ปลอดภัย มีคุณภาพสม่ำเสมอ และได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นยา อาหาร เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ล้วนต้องมีความสะอาด ความปลอดภัย และการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน GMP จึงเปรียบเสมือนเกราะป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิต โดย GMP แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับหลัก ได้แก่
- GMP ขั้นพื้นฐาน
เป็น GMP สำหรับโรงงานขนาดเล็ก โรงงาน OEM ที่ผลิตในประเทศ ธุรกิจเริ่มต้น (กลุ่ม SME หรือกลุ่ม Start-up) และแบรนด์ที่ยังไม่เน้นส่งออก โดย GMP ระดับนี้ไม่ซับซ้อนมาก แต่ยังคงมีแนวทางชัดเจนในการควบคุมการผลิต เน้นทั้งเรื่องความสะอาด ความเป็นระเบียบ การควบคุมคุณภาพพื้นฐาน
- GMP มาตรฐาน อย.
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า GMP กฎหมายไทย (อ้างอิงจากประกาศกระทรวงฯ เครื่องสำอาง พ.ศ. 2561) มีความเข้มงวดกว่า GMP ขั้นพื้นฐาน เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายที่โรงงานเครื่องสำอางในไทยต้องมีหากจะดำเนินกิจการอย่างถูกต้อง ตัวอย่างข้อกำหนด เช่น ต้องมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ แผนการฝึกอบรมพนักงาน และตรวจสุขภาพ เหมาะกับโรงงานขนาดกลางถึงใหญ่
- GMP ระดับสากล
เหมาะสำหรับโรงงานที่ผลิตสินค้าส่งออกต่างประเทศ หรือแบรนด์ที่ต้องการยกระดับสู่มาตรฐานสากล โดยจะมีข้อกำหนดเข้มงวดกว่าทุกระดับเพราะต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ – Codex Alimentarius (FAO/WHO) เน้นระบบคุณภาพ และการควบคุมความเสี่ยงแบบครบวงจร เช่น ต้องมีระบบวิเคราะห์ความเสี่ยง ระบบควบคุมการปนเปื้อน มีการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ในห้องแลบที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
ISO (International Organization for Standardization) คือองค์กรระหว่างประเทศด้านการกำหนดมาตรฐาน มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานที่เป็นกลาง และสากล เพื่อใช้ควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย การจัดการสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดย ISO ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง คือ
– ISO 22716
เป็น ISO สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางโดยเฉพาะ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการคุณภาพของกระบวนการผลิต การจัดเก็บ และการควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และได้มาตรฐาน อีกทั้ง ISO นี้ยังเป็นที่ยอมรับของสหภาพยุโรป และประเทศที่มีกฎเข้มงวด
– ISO 9001
ISO ประเภทนี้เกี่ยวกับระบบการบริหารการจัดการคุณภาพขององค์กร มุ่งเน้นการสร้างระบบงานที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส วัดผลได้ สามารถใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่จำกัดเฉพาะเครื่องสำอาง และยังเป็น ISO ที่ได้รับความนิยมสูงสุดทั่วโลก
– ISO 14001
เหมาะสำหรับโรงงานที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการจัดการของเสีย มลภาวะ และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การมี ISO ประเภทนี้จะช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ และยังเป็นจุดแข็งของโรงงานที่ต้องการดึงดูดลูกค้าต่างประเทศ
แม้ว่า GMP จะเน้นกระบวนการผลิต และ ISO จะเน้นระบบบริหารจัดการ แต่หลายคนยังคงสงสัยว่า GMP กับ ISO ต่างกันอย่างไร และจำเป็นต้องมีทั้งคู่หรือไม่ คำตอบขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางธุรกิจ และตลาดที่คุณต้องการไปถึง
ความสำคัญของ GMP กับ ISO ต่อโรงงาน
ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของโรงงานหรือเจ้าของแบรนด์ การเข้าใจว่า GMP กับ ISO ต่างกันอย่างไร จะช่วยให้คุณวางแผนเลือกโรงงานที่ตอบโจทย์ได้อย่างแม่นยำ เพราะมาตรฐานทั้งสองส่งผลต่อทั้งคุณภาพผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ และโอกาสในตลาดสากล
- ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนการผลิตมีความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และยังทำให้ลูกค้ามองว่าโรงงานมีระบบบริหารจัดการที่ดี สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน และส่งออกตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เพราะประเทศเหล่านี้มักกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ต้องผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO และ GMP นอกจากนี้ โรงงานที่มี ISO 22716 จะผ่านข้อกำหนดของ EU ได้ง่ายขึ้น
- บังคับให้โรงงานต้องควบคุมจุดเสี่ยงอย่างเคร่งครัด เช่น ความสะอาดของอุปกรณ์ แหล่งน้ำวัตถุดิบ หรือสุขอนามัยของพนักงาน และช่วยเน้นเรื่องการจัดทำเอกสาร และการบริหารจัดการคุณภาพเชิงระบบ ทำให้ลดความผิดพลาดที่เกิดซ้ำได้
- มาตรฐานทั้งสองช่วยให้โรงงานมีการวางแผน ควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ลดต้นทุนจากความผิดพลาด เช่น สินค้าชำรุด การคืนของ หรือการถูกเรียกคืนสินค้า
- โรงงานที่ผ่านการรับรอง ISO และ GMP สามารถใช้ใบรับรองเหล่านี้ในการโปรโมตสร้างความน่าเชื่อถือ เป็นเครื่องยืนยันว่าโรงงานมีมาตรฐานระดับโลก
- ISO โดยเฉพาะ ISO 14001 และ ISO 45001 ช่วยให้โรงงานวางแผนด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยได้อย่างเป็นระบบ เหมาะกับยุคที่ตลาดให้ความสำคัญกับ Green Factory, ESG, Carbon Footprint
มาตรฐานคือจุดชี้วัดความน่าเชื่อถือของโรงงานในสายตาของเจ้าของแบรนด์ และคู่ค้า GMP และ ISO จึงเป็นมากกว่าใบรับรอง แต่คือความได้เปรียบในระยะยาว เพราะอย่างนั้น การเข้าใจว่า GMP กับ ISO ต่างกันอย่างไร คือหัวใจของการเลือกพาร์ตเนอร์ที่เหมาะกับแบรนด์
หากท่านใดที่กำลังวางแผนทำแบรนด์เครื่องสำอางเป็นของตัวเอง สามารถมาปรึกษา #COSMINA ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี!!! เพราะเราเป็นโรงงานรับผลิตเครื่องสำอางที่มีมาตรฐาน พร้อมกับมีประสบการณ์มากกว่า 46 ปี ดังนั้นมั่นใจได้ว่าท่านจะได้พบเจอกับคุณภาพ และบริการที่ประทับใจหากได้มาปรึกษากับเรา